1. Yellow-face parrotlet (Forpus xanthops) มีขนาดความยาว 15 ซม. เป็นสายพันธุ์เดียวที่มีขนาดความยาวมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู
2. Maxican parrotlet (Forpus cyanopygius, Forpus c. insularis) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแมกซิโก
3. Green-rumped parrotlet (Forpus passerinus, Forpus p. viridissimus, Forpus p. deliciosus) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส
4. Blue-winged parrotlet (Forpus xanthopterygius, Forpus x. flavissimus, Forpus x. flavescens) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศอาเจนติน่า บราซิล
5. Spectacied parrotlet (Forpus conspicillatus, Forpus c. caucae) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศปานามา
6. Turqoise-rumped parrotlet มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศโคลัมเบีย
7. Sclaters parrotlet มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล
8. Pacific parrotlet มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู
เคยมีผู้เพาะเลี้ยงนกนำนกฟอพัสเข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว แต่อยู่ในวงจำกัดและมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากทั่วโลกมีนกชนิดนี้น้อยมาก โดยเฉพาะนกสีสูงหรือนกสีใหม่ ผู้เพาะเลี้ยงรุ่นก่อนมักจะเรียกนกชนิดนี้ว่า แปซิฟิก ซึ่งเป็นเพียงสายพันธุ์เดียวของนกฟอพัสเท่านั้น และเป็นสายพันธุ์ที่สามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การเลี้ยงดูนกชนิดนี้สามารถเลี้ยงรวมกันได้ในกรงใหญ่ หรือจะเลี้ยงเป็นคู่ๆก็ได้ ในกรณีที่ต้องการเพาะขยายพันธุ์ควรเลี้ยงเป็นคู่ กรงที่ใช้สำหรับเพาะพันธุ์ควรมีขนาดไม่เล็กกว่าหมอนใหญ่ ระยะห่างของลวดที่ใช้ทำกรงไม่ควรมากนัก เพราะขนาดของตัวนกมีขนาดค่อนข้างเล็ก อาจทำให้นกหลุดจากกรงที่เลี้ยงดูอยู่ได้ ในต่างประเทศนิยมใช้กรงหมอนใหญ่เพื่อลดขนาดพื้นที่โรงเรือนซึ่งนิยมใช้ห้อง ว่างภายในบ้านเป็นโรงเรือน ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงไว้สำหรับความเพลิดเพลิน ตามห้องพัก อพาตเม้นต์ หรือคอนโดมิเนียม ควรเลี้ยงในกรงหมอนเล็ก ซึ่งสามารถจัดวางไว้ที่มุมห้อง หรือตามระเบียงก็ได้
การเพาะขยายพันธุ์นกฟอพัส ให้นำนกที่พร้อมผสมพันธุ์โดยสังเกตว่านกมีการผลัดขนเรียบร้อยแล้ว (โดยทั่วไปอายุเฉลี่ยประมาณ 9 เดือน) มาจับคู่ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ให้นำรังไข่ที่มีขนาดเดียวกันกับรังไข่นกเลิฟเบิร์ดมาแขวนไว้ ภายในรังไข่ใส่ขี้กบที่มีขายในร้านค้าอาหารและอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงนก มารองก้นรังสูงประมาณ 1 นิ้ว หลังจากนั้นนกจะเข้าไปตกแต่งรังเพื่อวางไข่ต่อไป นอกจากรังไข่ก็ยังสามารถใช้รังเปลือกมะพร้าวแทนได้เช่นกันแต่ไม่จำเป็นต้อง ใส่ขี้กบรองก้นรัง
นกฟอพัสสามารถวางไข่ได้ปีละประมาณ 4-5 ครั้งๆละประมาณ 4-7 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 18 วัน เมื่อลูกนกอายุครบ 28 วัน ก็จะลงจากรังมาหาอาหารกินได้เอง นกฟอพัสเป็นนกที่สามารถแยกคู่ได้ แต่ควรแยกนกไว้อย่างน้อย 1 เดือน จึงค่อยทำการจับคู่ใหม่ การจำแนกเพศนกฟอพัส สามารถจำแนกเพศได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ลูกนกอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยจำแนกจากความแตกต่างของสีที่ลั้มและโคนปีก เพศเมียจะมีสีเช่นเดียวกันกับสีของตัวนก ยกเว้น นกขาวตาแดงซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ต้องอาศัยการตรวจเพศจากห้องแล็บหรือใช้วิธีลองจับคู่ได้
อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงนกฟอพัส นิยมใช้เมล็ดธัญญพืช ที่ผสมรวม 15 อย่าง ที่มีขายตามแหล่งขายอาหารนก หรืออาจผสมเองก็ได้ ซึ่งอย่างน้อยควรมีส่วนผสม อันได้แก่ ทานตะวัน มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ดและข้าวเปลือกเม็ดมะเขือ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถให้ผักและผลไม้ได้อีกด้วย ควรเปลี่ยนน้ำผสมวิตามินทุกวัน และให้กระดองปลาหมึกเพื่อช่วยให้นกสามารถรักษาปริมาณแคลเซี่ยมในร่างกายให้ สมดุลย์ โดยเฉพาะนกเพศเมียที่จะต้องใช้แคลเซี่ยมในการสร้างเปลือกไข่ สีสันของนกฟอพัส
ปัจจุบันมีมากกว่า 10 สี เช่น เขียว ฟ้า เหลือง ขาว พายด์ เป็นต้น ซึ่งเป็นนกในสายพันธุ์ Pacific parrotlet ซึ่งมีลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรม 2 แบบ ได้แก่ incomplete dominant ในนกพายด์ กับแบบ recessive ในนกสีอื่น ส่วนสายพันธุ์ Blue-winged parrotlet ในนกลูติโน่ จะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นแบบ sex-linked ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาสีสันนกชนิดนี้ได้หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ
โรคติดต่อที่พบในนกฟอพัส ยังไม่พบว่ามีโรคติดต่อเช่นนกชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นนกที่สามารถเลี้ยงได้โดยไม่จำเป็นต้องทำมุ้งกันยุง โดยทั่วไปนกฟอพัสเป็นนกที่มีอายุยืนถึง 20 ปี นกฟอพัสมีจุดเด่นหลายประการ คือ เป็นนกแก้วที่มีขนาดเล็กมากที่สุด น่ารัก มีสีสันสวยงามและในปัจจุบันสามารถพัฒนาสีสันได้หลากหลาย จำแนกเพศได้ง่าย สามารถเลี้ยงในแหล่งชุมชน หอพัก โดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านหรือห้องข้างเคียง กินอาหารไม่มาก เลี้ยงลูกเก่ง อายุยาวนาน และไม่มีโรคติดต่อ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นนกที่เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน อย่างยิ่ง