เผยเทคนิคการเพาะเลี้ยงนก "จารุเนตร เบิร์ดฟาร์ม"

สัมภาษณ์ หม่อมหลวง สกุล มาลากุล เจ้าของ "จารุเนตร เบิร์ดฟาร์ม"

เผยเทคนิคการเพาะเลี้ยงนกฟอฟัส ในนิตยสาร "สื่อรักสัตว์เลี้ยง" (www.thailandpets.com)ฉบับที่ 167 ประจำเดือน มกราคม 2552 ติดตามอ่านเต็มคอลัมน์ที่หน้า 125 คอลัมน์ เยี่ยมฟาร์มนก

นกฟอฟัส ถือเป็นนกสวยงาม ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสีสันสวยงาม เพาะเลี้ยงง่ายเหมือนกับนกเลิฟเบิร์ดถือเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้ที่เพาะเลี้ยงนกสวยงาม ซึ่งยังมีการเพาะเลี้ยงในปริมารที่น้อย แต่มีความต้องการมากขึ้นทุกวันเยี่ยมฟาร์มนกประจำเดือนมกราคมนี้ จึงขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงนกฟอฟัส โดยขอพาไปรู้จักกับ "จารุเนตร เบิร์ดฟาร์ม" ฟาร์มเพาะเลี้ยงนกฟอฟัสคุณภาพอีกแห่งหนึ่ง ภายใต้การดูแลของ หม่อมหลวง สกุล มาลากุล

หม่อมหลวง สกุล ได้เปิดเผยกับทีมงานว่า เหตุผลที่หันมาเลี้ยงนกสวยงามเพราะมีความชอบ โดยเริ่มต้นจากนกหงส์หยกก่อน 5 คู่ซึ่งได้จากผู้ป่วยที่มารักษาพยาลในโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งตนเองมีงานประจำเป็น เจ้าหน้าที่กายอุปกรณ์ระดับ 6 ของโรงพยายาบาลสมุทรปราการต่อมาจึงได้ต่อกรงเลี้ยงนก และมีเพื่อนๆที่อยู่ชมรมวิทยุสมัครเล่นด้วยกันได้แนะนำให้ไปเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ดเสริมด้วย จากนั้นจึงได้เริ่มเป็นโรงเรือนสำหรับเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ด ประมาณ 300 คู่ ต่อมาเมื่อเกิดโรคไข้หวัดนกทำให้ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้มองว่าไม่คุ้มหากเราจะทำเป็นรายได้เสริมโดยการเลี้ยงนกเพียงชนิเดียว ดังนั้น จึงหันมาเลี้ยง นกค๊อกคาเทล,ซันคอนัวร์,เกรย์, อิเลคตัส และนกฟอฟัส จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้มีตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่สนใจเลี้ยงนกมากขึ้น

สำหรับเหตุผลที่หันมาเลี้ยงนกฟอฟัสเพราะเป็นนกที่มีขนาดเล็ก เล็กกว่าเลิฟเบิร์ดแต่ใหญ่กว่านกฟินซ์ 7 สี และนกฟอฟัสเป็นนกที่ร้องเสียงไม่ดังเหมือนเลิกฟเบิร์ดนกฟอฟัสเวลาร้องเสียงดังจะเหมือนนกกระจอก ในช่วงแรกได้ไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต พบว่านกฟอฟัสเป็นนกปากขอขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคนที่อยู่ตามคอนโดมิเนียมหรือทาวน์เฮ้าส์ ไม่สร้างความเดือดร้อนเรื่องเสียงให้กับคนข้างห้อง ดังนั้นจึสนใจลงมือเลี้ยง และศึกษาหาข้อมูลไปเรื่อยๆ

สำหรับการคัดเลือกนกฟอฟัสเพื่อนำมาพัฒนาสายพันธ์นั้น จะนำเข้านกจากต่างประเทศ ที่กลุ่มเพื่อนนำเข้ามา เป็นสายพันธ์จากอัฟริกา โซนอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งนกฟอฟัสมีถิ่นกำเนิดในประเทศอัฟริกาและเยอรมัน มีประมาณ10 สายพันธุ์ สำหรับการดูแลนกฟอฟัสนั้น การดูเพศจะมีความแตกต่างจากนกเลิฟเบิร์ด เพราะนกเลิฟเบิร์ดจะมีปัญหาเรื่องการดูเพศนกมาก แต่นกฟอฟัสเป็นนกที่สามารถดูเพศได้ง่ายในนกขนาดใหญ่ แต่ในนกเล็กก็คงดูได้ยากเช่นกัน โดยนกตัวผู้จะมีสีอื่นแซมที่ปีกและลำตัวมากกว่าตัวเมีย โดยเฉพาะปีกจะมีสีอื่นแซมอย่างเห็นได้ชัด

ทางด้านอายุของนกที่เหมาะสำหรับการเพาะพันธุ์นั้น ควรเลือกนกที่มีอายุอย่างน้อย 10 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป เพราะนกจะมีความสมบูรณ์ ส่วนสีขึ้นอยู่กับผู้เพาะพันธุ์ว่าต้องการสีใดบ้าง แต่หากสามาถผสมพันธุ์ได้สีแปลกๆ ใหม่ๆ ก็จะทำให้นกมีราคามากขึ้น เช่น ฟอฟัสพายด์ และนกพายด์กับฟอลโล่ แต่การทำนกนกพายด์กับฟอลโล่ ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี ถึงจะสามารถทำได้เพื่อให้นกออกมาเป็นนกพายด์ที่มีตาแดงด้วย ฯลฯ

นี่คือเทคนิคการเพาะเลี้ยงนกฟอฟัส ที่กำลังเป็นที่สนใจของคนไทยในปัจจุบัน ที่หม่อมหลวง สกุล มาลากุล ได้เปิดเผยกับ ทีมงานสื่อรักสัตว์เลี้ยง เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้อ่าน ส่วนท่านใดที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ "จารุเนตร เบิร์ดฟาร์ม" ติดต่อได้ทุกวัน ที่ 081-8660772

อ่านเพิ่มเติมได้ใน.....นิตยสาร "สื่อรักสัตว์เลี้ยง"




นกฟอพัส (Forpus)

นกฟอพัส เป็นนกแก้ว(นกตระกูลปากขอ)ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้น ไม่ส่งเสียงดัง นกฟอพัสเป็นนกที่ถูกจัดให้ขึ้นบัญชีไซเตสประเภท 2 ปัจจุบันสามารถจำแนกออกได้ทั้งหมด 8 สายพันธุ์ คือ

1. Yellow-face parrotlet (Forpus xanthops) มีขนาดความยาว 15 ซม. เป็นสายพันธุ์เดียวที่มีขนาดความยาวมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู
2. Maxican parrotlet (Forpus cyanopygius, Forpus c. insularis) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแมกซิโก
3. Green-rumped parrotlet (Forpus passerinus, Forpus p. viridissimus, Forpus p. deliciosus) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส
4. Blue-winged parrotlet (Forpus xanthopterygius, Forpus x. flavissimus, Forpus x. flavescens) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศอาเจนติน่า บราซิล
5. Spectacied parrotlet (Forpus conspicillatus, Forpus c. caucae) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศปานามา
6. Turqoise-rumped parrotlet มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศโคลัมเบีย
7. Sclaters parrotlet มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล
8. Pacific parrotlet มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู

เคยมีผู้เพาะเลี้ยงนกนำนกฟอพัสเข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว แต่อยู่ในวงจำกัดและมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากทั่วโลกมีนกชนิดนี้น้อยมาก โดยเฉพาะนกสีสูงหรือนกสีใหม่ ผู้เพาะเลี้ยงรุ่นก่อนมักจะเรียกนกชนิดนี้ว่า แปซิฟิก ซึ่งเป็นเพียงสายพันธุ์เดียวของนกฟอพัสเท่านั้น และเป็นสายพันธุ์ที่สามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเลี้ยงดูนกชนิดนี้สามารถเลี้ยงรวมกันได้ในกรงใหญ่ หรือจะเลี้ยงเป็นคู่ๆก็ได้ ในกรณีที่ต้องการเพาะขยายพันธุ์ควรเลี้ยงเป็นคู่ กรงที่ใช้สำหรับเพาะพันธุ์ควรมีขนาดไม่เล็กกว่าหมอนใหญ่ ระยะห่างของลวดที่ใช้ทำกรงไม่ควรมากนัก เพราะขนาดของตัวนกมีขนาดค่อนข้างเล็ก อาจทำให้นกหลุดจากกรงที่เลี้ยงดูอยู่ได้ ในต่างประเทศนิยมใช้กรงหมอนใหญ่เพื่อลดขนาดพื้นที่โรงเรือนซึ่งนิยมใช้ห้อง ว่างภายในบ้านเป็นโรงเรือน ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงไว้สำหรับความเพลิดเพลิน ตามห้องพัก อพาตเม้นต์ หรือคอนโดมิเนียม ควรเลี้ยงในกรงหมอนเล็ก ซึ่งสามารถจัดวางไว้ที่มุมห้อง หรือตามระเบียงก็ได้

การเพาะขยายพันธุ์นกฟอพัส ให้นำนกที่พร้อมผสมพันธุ์โดยสังเกตว่านกมีการผลัดขนเรียบร้อยแล้ว (โดยทั่วไปอายุเฉลี่ยประมาณ 9 เดือน) มาจับคู่ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ให้นำรังไข่ที่มีขนาดเดียวกันกับรังไข่นกเลิฟเบิร์ดมาแขวนไว้ ภายในรังไข่ใส่ขี้กบที่มีขายในร้านค้าอาหารและอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงนก มารองก้นรังสูงประมาณ 1 นิ้ว หลังจากนั้นนกจะเข้าไปตกแต่งรังเพื่อวางไข่ต่อไป นอกจากรังไข่ก็ยังสามารถใช้รังเปลือกมะพร้าวแทนได้เช่นกันแต่ไม่จำเป็นต้อง ใส่ขี้กบรองก้นรัง

นกฟอพัสสามารถวางไข่ได้ปีละประมาณ 4-5 ครั้งๆละประมาณ 4-7 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 18 วัน เมื่อลูกนกอายุครบ 28 วัน ก็จะลงจากรังมาหาอาหารกินได้เอง นกฟอพัสเป็นนกที่สามารถแยกคู่ได้ แต่ควรแยกนกไว้อย่างน้อย 1 เดือน จึงค่อยทำการจับคู่ใหม่ การจำแนกเพศนกฟอพัส สามารถจำแนกเพศได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ลูกนกอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยจำแนกจากความแตกต่างของสีที่ลั้มและโคนปีก เพศเมียจะมีสีเช่นเดียวกันกับสีของตัวนก ยกเว้น นกขาวตาแดงซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ต้องอาศัยการตรวจเพศจากห้องแล็บหรือใช้วิธีลองจับคู่ได้

อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงนกฟอพัส นิยมใช้เมล็ดธัญญพืช ที่ผสมรวม 15 อย่าง ที่มีขายตามแหล่งขายอาหารนก หรืออาจผสมเองก็ได้ ซึ่งอย่างน้อยควรมีส่วนผสม อันได้แก่ ทานตะวัน มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ดและข้าวเปลือกเม็ดมะเขือ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถให้ผักและผลไม้ได้อีกด้วย ควรเปลี่ยนน้ำผสมวิตามินทุกวัน และให้กระดองปลาหมึกเพื่อช่วยให้นกสามารถรักษาปริมาณแคลเซี่ยมในร่างกายให้ สมดุลย์ โดยเฉพาะนกเพศเมียที่จะต้องใช้แคลเซี่ยมในการสร้างเปลือกไข่ สีสันของนกฟอพัส

ปัจจุบันมีมากกว่า 10 สี เช่น เขียว ฟ้า เหลือง ขาว พายด์ เป็นต้น ซึ่งเป็นนกในสายพันธุ์ Pacific parrotlet ซึ่งมีลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรม 2 แบบ ได้แก่ incomplete dominant ในนกพายด์ กับแบบ recessive ในนกสีอื่น ส่วนสายพันธุ์ Blue-winged parrotlet ในนกลูติโน่ จะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นแบบ sex-linked ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาสีสันนกชนิดนี้ได้หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ

โรคติดต่อที่พบในนกฟอพัส ยังไม่พบว่ามีโรคติดต่อเช่นนกชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นนกที่สามารถเลี้ยงได้โดยไม่จำเป็นต้องทำมุ้งกันยุง โดยทั่วไปนกฟอพัสเป็นนกที่มีอายุยืนถึง 20 ปี นกฟอพัสมีจุดเด่นหลายประการ คือ เป็นนกแก้วที่มีขนาดเล็กมากที่สุด น่ารัก มีสีสันสวยงามและในปัจจุบันสามารถพัฒนาสีสันได้หลากหลาย จำแนกเพศได้ง่าย สามารถเลี้ยงในแหล่งชุมชน หอพัก โดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านหรือห้องข้างเคียง กินอาหารไม่มาก เลี้ยงลูกเก่ง อายุยาวนาน และไม่มีโรคติดต่อ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นนกที่เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน อย่างยิ่ง


นกแก้วอิเลคตัส ( Electus parrot )

นกแก้วอิเลคตัส Electus parrot (Eclectus roratus) เป็นนกในตระกูลนกแก้วที่ได้รับความนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม เพศผู้เมียแยกออกได้ด้วยตา


เป็นนกที่มีถินกำเนิดแถบ หมู่เกาะสุนดรา,โมลุกกะ หมูเกาะอรู,อินโดนีเซีย,นิวกีนี รวมถึงบางส่วนของออสเตรเลีย มีสายพันธุ์ย่อย (sub-species)ออกได้อีก 9 สายพันธุ์ย่อเนื่องจากสีสันสวยงาม ฉลาดฝึกง่าย บางชนิดเลียนเสียงได้ดี เลี้ยงง่าย กินพืชเป็นหลัก แข็งแรงและอายุยืน ซึ่งมีถิ่นที่มาแตกต่างกันตั้งแต่อเมริกาใต้ อาฟริกา ไปจนถึงออสเตรเลียสำหรับนกแก้วอิเลคตัส เพศผู้จะสีเขียวทั้งตัว ส่วนเพศเมียจะมีตัวสีแดงและม่วง


การเลี้ยง
ควรทำการฆ่าเชื้อกรงและสถานที่ใกล้เคียง โดยการล้าง ขัดถู และฟอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างสม่ำเสมอ ต้องรักษาความสะอาดอาหาร และอุปกรณ์ในการเลี้ยงลูกนกให้ถูกสุขอนามัยใช้อาหารที่เตรียมขึ้นใหม่ ๆ และมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกายสัตว์ หลังป้อนอาหารแล้วต้องทำความสะอาดภายในช่องปากทุกครั้ง นกที่แสดงอาการอาเจียน ให้ตรวจของเหลวที่อาเจียนหรือที่อยู่ในกระเพาะพักเสมออย่าให้นกเถื่อน เช่น นกพิราบเข้ารวมฝูงกับนกที่เลี้ยงไว้ หรือเข้ามากินน้ำร่วมกันเพราะอาจแพร่เชื้อ


การเลี้ยงนกลูกป้อน นกแก้วอิเลคตัส
1. เลือกลูกนกที่มีขนจริงผลิปลายงบ้แล้ว
2. ดูว่าเขาให้อาหารป้อนประเภทไหน
3. ศึกษาวิธีการป้อน ที่ถูกวิธี นกแก้วอิเล็กตัสเป็นลูกป้อนที่ ต้องบังคับ ขืนใจบ้าง
4. ต้องสังเกตปริมาณอาหารที่ป้อนในแต่ละมื้อ ทุกครั้งที่ป้อน
5. พอนกเริ่มโต ต้องค่อยลดปริมาณอาหารลงเรื่อยๆ โดยดูจากถุงกระเพาะอาหาร


ส่วนนกโต นกแก้วอิเลคตัส
1. เลือกซื้อนกที่เกิดในฟาร์ม อย่าไปซื้อนกเรือเด็ดขาดครับ
2. หากรงที่พอเหมาะ ควรยาว 2 เมตร กว้าง สูง 1 เมตร เป็นอย่างต่ำ
3. อาหารควรหลากหลาย เช่น ฟักทอง ถั่วหลายๆชนิดนึ่ง ผัก ผลไม้ หลายๆอย่าง
4. เมล็ดพืช ทานตะวัน ข้าวเปลือก มิตเล็ต อื่นๆ
5. น้ำ ควรเปลี่ยนทุกวัน ห้ามทิ้งค้างคืน
6. ควรมียาแก้หวัด แก้ท้องเสียสำหรับ สัตว์ปีกติด บ้านไว้


นกแก้วริงค์เน็ค ( Ringnecked )

ริงค์เน็ค ( Ringnecked Parakeet ) นกแก้วคลาสสิก ชื่อวิทยาศาสตร์ Psittacula Krameri เพาะเลี้ยงเกิดสีใหม่ไม่ มีจุดจบ นกแก้วสายพันธุ์ริงค์เน็ค เป็นที่นิยมในการเพาะเลี้ยงมากที่สุด เนื่องจากมีสีสันมากมายหลาก หลายสี เช่น กรีน, เกรย์กรีน, บลู, บลูซินนามอน, ลูติโน, อัลบิโน, เยลโลเฮดซินนามอน และ ไวท์เฮดบลูซินนามอน ซึ่งเป็นสีที่ฮอตฮิตมาก และยังสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสีใหม่ๆขึ้นอย่างไม่มีจุดจบ ปัจจุบันมีสีมากกว่า 30-40 สี


สิ่งที่ผู้เลี้ยงนิยมชมชอบอีกจุดหนึ่ง
คือ สรีระ รูปทรง สีของขน และมีหางที่ยาวมากกว่าลำตัว เมื่อถึงขนาดโตเต็มที่...ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ตัวเมียจะวางไข่พร้อมกับกกอยู่นานประมาณ 23-24 วัน จากนั้นลูกนกก็อาศัยอยู่ในรังถึงอายุ 1 เดือน จึงจะออกมาหากินเองได้ มือใหม่หัดเลี้ยง ควรซื้อขนาดอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อการรอดชีวิต หากต้องการผสมสายพันธุ์ใหม่ๆเลือกที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป


การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยง

โดยการกำหนดให้กรงมีขนาดเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องทำรังไม้ มีขนาดความกว้างและยาวประมาณ 30 เซนติเมตรและสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้นกมุดตัวเข้าไปนอนได้อย่างมีความสุขเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายตัวหนึ่ง ขนาดความยาว 40 ซ.ม. หรือประมาณ 16 นิ้ว เพศตัวผู้เมื่ออายุ 2 ถึง 3 ปี จะมีเส้นรอบคอเป็นสีดำสลับกับสีชมพูซึ่งจะไม่มีในนกตัวเมีย อายุเฉลี่ยของนกชนิดนี้ประมาณ 15 ปี ถิ่นกำเนิดตอนกลางของทวีปแอฟริกา , อินเดียทั้งทวีปและมาจนถึงทางเหนือของประเทศพม่า


ริงค์เน็ค เป็นนกแก้วขนาดกลาง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามแหล่งที่มา และถือเป็นนกปากขอที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด ในบรรดานกปากขอด้วยกัน เริ่มตั้งแต่
1. Psittacula Prameri Kramiri มีถิ่นกำเนิดในแอฟฟริกาตั้งแต่เซเนกัล มอริตเนีย , อูกานดา และซูดาน
2. Psittacula Prameri Parvirastris มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ซูดาน เอธิโอเปีย และโซมาเลีย
3. Psittacula borealis มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ปากีสถานและเนปาล
4. Psittacula Krameri manillensis มีถิ่นกำเนิดในซีลอน และ อินเดียทั้งทวีป


ซึ่งชนิดสุดท้ายนี้เป็นนกแก้วริงเนคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และมีผู้นำไปผสมพันธุ์จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีได้หลากหลายที่สุด ในบรรดานกแก้วด้วยกัน ซึ่งในธรรมชาตินกชนิดนี้มีสีที่หลากหลายประมาณ 80 ชนิด ของสีและแบบ ซึ่งเราจะพบนกเหล่านี้ได้ตามร้ายขายสัตว์เลี้ยงและฟาร์มนกในที่ต่าง ๆ สีที่เป็นที่นิยมมีอยู่หลายสี เช่น สีเหลือง Jutino , สีขวา Albino, สีฟ้า Blue, สีเทา Grey, ซินนามอน Cinnamon , ครีมิโนCrmino จนถึงกระทั่งการผสมให้นกมีสีที่หัวและตัวเป็นคนละสีกัน เช่น เลสวิง Jacewing , Butter cup , หัวขาวหางขาว , หัวเหลืองหางเหลือง และสีที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่บรรดาผู้เลี้ยงนกชนิดนี้ได้แก่ สีโคบอล์ท Cobalt , ม่วง Violet ซึ่งในอนาคตนกชนิดนี้อาจถูกผสมสีขึ้นมากจนกลายเป็นร้อย ๆ สี และแบบได้โดยไม่ยากนัก


นกแก้วคอนัวร์กรีนชีค เยลโล่ไซด์

นกแก้วคอนัวร์ (Cornure) สายพันธุ์กรีนชีค มีข้อดีอยู่หลายประการ อาทิ จัดเป็นนกที่ร้องเสียงไม่ดังเหมือนกแก้วประเภทอื่น เมื่อนำมาเลี้ยงไม่รบกวนเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น นกแก้วในกลุ่มนี้สามารถพัฒนาสีให้มีความหลากหลายได้ คือ ผสมข้ามให้เกิดสีใหม่ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น


ในอดีตมีการสั่งนำเข้านกกรีนชีคจากต่างประเทศมีสีหลัก ๆ อยู่ 3 สีคือ สีซินิมอล, เยลโล่ไซด์, บลู ฯลฯ แต่ปัจจุบันมีคนไทยผสมพันธุ์ ได้เพิ่มออกมาอย่างน้อย 4 สี คือ สีซินิมอล เยลโล่ไซด์, บลูซินิมอล, บลูเยลโล่ไซด์ และบลูซินิมอลเยลโล่ไซด์ สายพันธุ์กรีนชีคสามารถเลี้ยงเพื่อการส่งออกได้ด้วย


ขณะนี้นกแก้วคอนนัวร์กรีนชีคเป็นนกที่เพาะได้ในเมืองไทย เมื่อนำมาเลี้ยงจะมีนิสัยที่รักเจ้าของ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 24 เซนติเมตร (วัดจากหัวจนถึงปลายหาง) เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นนกที่มีขนาดเล็กกว่านกแก้วโมงของเรา จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่ากรีนชีคเป็นนกที่ฉลาด, สอนพูดได้และเชื่อง ถึงแม้จะเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่สามารถเลี้ยงในพื้นที่จำกัดได้ กรงที่ใช้เลี้ยงใช้ขนาดความกว้าง 70-80 เซนติเมตร ความยาว 1.50 เมตร (ถ้ามีเนื้อที่กว้างกรงจะยาวกว่านี้ยิ่งดี)


อาหารหลักที่ใช้เลี้ยงคือ ข้าวไรท์, เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ ในเรื่องของการเพาะขยายพันธุ์นกแก้วกรีนชีคไม่ยาก เน้นในเรื่องของการให้อาหารที่ดีและทำให้พ่อ-แม่นกมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีรังให้มันออกไข่ (ภายในรังหาขี้กบจากการไสไม้ซึ่งมีลักษณะหยาบกว่าขี้เลื่อย) ความจริงแล้วกรีนชีคที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ควรจะมีอายุอย่างน้อย 8 เดือน แต่ถ้าจะให้ดีควรจะมีอายุ 1 ปีจะดีกว่าข้อดีอีกประการหนึ่งของนกแก้วชนิดนี้คือจับคู่ได้ง่าย ไม่ค่อยพบปัญหานกตีกันหรือรังแกกัน


สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์ของนกแก้วชนิดนี้สามารถผสมพันธุ์ให้ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่นกชอบมากที่สุดคือ ระหว่างเดือนกันยายน-เดือนมีนาคม ถ้าแม่นกมีความสมบูรณ์จะออกไข่ได้ปีละ 3-4 คอก และในการออกไข่ครั้งละประมาณ 6 ฟอง แต่เดิมนกแก้วกรีนชีคที่มีเลี้ยงในบ้านเรามีสีเขียวเป็นหลัก ดูแล้วไม่น่าสนใจเท่าไร ต่อมามีการผสมพันธุ์จนมีสีสันที่มีความหลากหลายมากขึ้น ตลาดมีการขยายตัวมากขึ้น และหวังว่าในอนาคตจะทำการผสมพันธุ์ให้ได้กรีนชีคที่มีโทนสีขาวและสีเหลือง ซึ่งราคาจะแพงขึ้นแน่นอน



นกกระตั้ว ( Cockatoo )

" นกกระตั้ว " มีชื่อเป็นภาษามาเลเซียว่า " Cockatoo " แปลว่า พ่อเฒ่า หรือ คีมเหล็ก เนื่องจากความคมกริบของจะงอยปากของเจ้านกกระตั้ว แต่เมื่อได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม จะรู้ว่าเจ้านกสังคมชนิดนี้มีความน่ารักเป็นที่สุดในบรรดาสัตว์ต่างๆ โดยนกกระตั้วนั้นถือได้ว่าเป็นนกที่ฉลาดและขี้เล่นเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้เลี้ยงนกชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเพราะหลงใหลไปความน่ารักของมัน


นกกระตั้วนั้นมีความแตกต่างจากนกแก้วในด้านรูปร่างลักษณะและพฤติกรรม นกกระตั้วเป็นนกที่พูดเก่ง มันมีความสามารถในการเลียนแบบคำพูด โดยมันมีทักษะในการเลียนแบบ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมาจากความฉลาดของมันนั่นเอง นกกระตั้วยังสามารถถูกสอนให้เต้นรำตามจังหวะร้องเพลง เล่นโรลเลอเสก็ต หรือแม้แต่เล่นชักคะเย่อก็ได้ นกกระตั้วเกือบจะทุกสายพันธุ์ มีความสามารถในการปีป่ายที่ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้นควรจะเอาสิ่งของต่างๆ มาให้นกปีนเล่นบ้าง


การพักผ่อนและการนอนหลับ
นกที่มีสุขภาพดีจะพักผ่อนและนอนหลับโดยยืนขาเดียว อีกขาหนึ่งก็จะซุกไว้ในขนของมัน จากนั้นมันจะสลัดขนที่ตัวให้ฟู แล้วมันก็จะหันหัวไปด้านหลังแล้วซุกหัวมันลงที่ขนด้านหลัง เมื่อมันหลับตา ตาของมันก็จะไม่ปิดสนิท


นกกระตั้วจะใช้ปากและลิ้นของมัน ช่วยในการเอาเปลือกของเมล็ดพืช ผลไม้และผักออก เหมือนๆกับนกทั่วไป นกตัวใหญ่ส่วนมากแล้วจะใช้เท้าของมันเป็นเหมือนมือ ใช้ถือเศษอาหารแล้วส่งอาหารเข้าปาก เมื่อนกจะดื่มน้ำจะใช้จะงอยปากล่างตักน้ำ จากนั้นก็จะเงยหน้าเพื่อกลืนน้ำเข้าไป


นกมีความสามารถในการบินที่ยอดเยี่ยม ถ้าเลี้ยงนกโดยมัดหรือผูกล่ามมันไว้ ต้องฝึกและคอยกระตุ้นให้นกกระพือปีกบ้างทุกวันจนกว่านกจะบินได้ การฝึกแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้นกเกิดการเผาผลาญอาหารและป้องกันโรคดึงขนตัวเอง และการส่งเสียงร้องมากเกินกว่าปกติ


นกกระตั้วนั้นจะผูกพันกับผู้เลี้ยงมาก การแยกจากผู้เลี้ยงนั้นจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของนก ทำให้นกก้าวร้าว ผู้เลี้ยงจึงต้องให้ความสนใจเอาใจใส่ต่อนกเป็นประจำทุกวัน เมื่อนกกระตั้วผูกพันกับผู้เลี้ยงมากอาจก่อให้เกิดปัญหา ความก้าวร้าวของนกซึ่งเกิดจากความอิจฉาและหวงเจ้าของอาจส่งผลทำให้นกทำร้ายผู้อื่นได้ นกกระตั้วที่ติดเจ้าของมาก อาจไม่ยอมหาคู่และไม่สามารถผสมพันธุ์ได้


นกกระตั้วเกือบทุกสายพันธุ์มีนิสัยขี้เล่นและมีความฉลาด นกกระตั้วสามารถเล่นเกมและออกกำลังกาย โดยการบิน การสะบัดตัว และสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้เอง โดยกิจกรรมเหล่านี้จะถูกปฏิบัติตลอดทั้งวัน โดยที่ผู้เลี้ยงไม่ขัดจังหวะ แต่จะมีการหยุดพักเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ทั้งนี้เพื่อว่านกจะมีภาวะทางอารมณ์คงที่ ขณะที่นกกำลังเล่นจะส่งเสียงร้องที่ดังมาก ซึ่งโดยมากนกสายพันธุ์นี้อาจเพิ่มความดังของเสียงร้องมากขึ้นได้
ความขี้เล่นและเสียงร้องมากขึ้นได้



นกแก้วมาคอว์ (Macaw)

นกแก้วมาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในแม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆคาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ 4-5 เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ 32 นิ้ว-35 นิ้ว


สำหรับอาหารของมาคอว์ชอบกินอาหารจำพวกผลไม้ทั่วๆไปและเมล็ดธัญพืช ชอบอยู่กันเป็นฝูง รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ส่งเสียงดัง ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กัน แบบคู่ใครคู่มันและไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมัน จนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ของมัน


มาคอว์จัดเป็นนกที่สามารถฝึกให้เชื่อง เป็นนกที่มีความจำดีและมีความพยาบาทรุนแรง ดุร้าย น่ากลัวมากเท่ากับความอ่อนโยนอ่อนน้อมน่ารักชวนให้ปราณีของมัน โดยอุปนิสัยแล้วมาคอว์เป็นนกที่ชอบสะอาด หากผู้เลี้ยงอาบน้ำให้มันเป็นประจำ มาคอว์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้เลี้ยงควรใช้น้ำจากฝักบัวรดให้นกได้อาบน้ำบ่อยครั้ง ในฤดูฝนควรอาบน้ำให้ในกลางแจ้ง เพื่อให้นกได้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำนกมาไว้ในที่มีแดดดอนๆและอากาศบริสุทธิ์ มาคอว์เป็นนกที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่นๆ


มาคอว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจะสนิทสนมกับผู้เลี้ยงอย่างสนิทสนม หากผู้เลี้ยงห่างเหินนกมาคอว์จะโศรกเศร้าแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เลี้ยงนกมาคอว์ควรจะให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด นกแก้วมาคอว์เป็น นกที่มีขนาดใหญ่มาก มีปากที่แหลมคม ประสาทตาไวมาก มีความฉลากและน่ารักในตัวของมันเอง เป็นนกที่เชื่องมาก หากเจ้าของเอาใจใส่มัน มันก็จะรักเราเหมือนที่เรารักมัน สามารถสอนให้เล่นจักรยาน สอนกิจกรรมต่าง ๆ ได้แต่ต้องหมั่นฝึกฝนจึงจะเป็น


นกแก้วมาคอว์สามารถแยกชนิดตามชื่อและสีได้9ชนิด ดังนี้
1.เดอะ เรด แอนด์ แยลโล่ มาคอว์ มีสีแดงแกมเหลือง ถิ่นดั่งเดิมเข้าใจว่าคือ อเมริกา ยาวประมาณ36นิ้ว ลำตัวสีแดงสด ปีกและหางสีน้ำเงินเขียว แก้มสีขาวและส้ม เพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า สีแดงบนกระม่อนจะอ่อนกว่าตัวผู้ ราคาแพง
2. เดอะ เรด แอนด์ บลู มาคอว์ มีสีแดงแกมน้ำเงิน ถิ่นดั่งเดิมมาจากอเมริกาใต้ ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต มีสีฟ้าประปรายทั่วร่างกาย จงอยปากสีดำ เป็นนกมาคอว์ที่ได้รับความนิยมปานกลาง
3.บลู แอนด์ แยลโล่ มาคอว์ สีน้ำเงินแกมเหลือง ถิ่นกำเนิดดั่งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา คอหอยมีสีฟ้าแกมเขียว อกสีเหลืองสด เป็นมาคอว์ที่ในไทยมีความนิยมสูง ลำตัวประมาณ 3 ฟุต
4.บราซิล มาคอว์ เป็นนกแก้วที่มีถิ่นกำเนิดในบราซิล ลำตัวมีสีเขียวสดข้างแก้มมีสีเหลือง จงอยปากสีดำ ในไทยถือว่าราคาไม่แพง
5.เซเวอร์ มาคอว์ เป็นนกที่มีลำตัวสีเขียวเข้มจัดกว่ามาคอว์ชนิดอื่น บนหัวมีสีน้ำตาลและฟ้า เป็นนกมาคอว์ขนาดเล็กประมาณ 20 นิ้วเท่านั้น
6.เลอ มาคอว์ เป็นนกแก้วสีฟ้าทึมๆ เป็นนกมาคอว์ขนาดกลาง 28 นิ้ว
7.Hyacinthine Macaw มีสีฟ้าอมม่วงเว้นแต่บริเวณข้อพับของปีกจะมีสีเหลือง เป็นมาคอว์ขนาดใหญ่ประมาณ 34 นิ้ว มีราคาซื้อขายที่สูง
8.Military Macaw มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาคอว์สีกากี เป็นนกมาคอว์ขนาดกลางประมาณ 27 นิ้ว มีสีเขียวอ่อนเคลือบเหลือง หน้าผากสีแดงสด ปีกสีน้ำตาลค่อนไปทางเหลือง สะโพกและหางสีฟ้า
9.Illiger’s Macaw มีสีเขียวเข้ม หน้าผาก สะโพกและใต้ท้องมีสีแดงสด มีขนสีน้ำตาลและฟ้าแตะปะปรายทั่วไป เป็นนกมาคอว์ขนาดเล็กเพียง 16 นิ้วเท่านั้น


กรงและอุปกรณ์
ในการเลี้ยงมาคอว์ก่อนที่จะตัดสินใจเลี้ยงจะต้องคิดพิจารณาเสียก่อน ว่าท่านจะเลี้ยงในกรงชนิดใด ว่าจะเลี้ยงเพื่อให้อยู่ในบ้านหรือจะเลี้ยงไว้ในกรงขนาดใหญ่ปะปนกันกับนกชนิดอื่นๆ โดยปกติแล้วในการเลี้ยงมาคอว์นิยมเลี้ยงกรงละหนึ่งตัว ย่อมดีกว่าการเลี้ยงแบบปล่อยรวมให้อยู่ในกรงเดียวกัน ขนาดของกรงควรมีขนาด สูง 3 ฟุต ยาวด้านละ 2 ฟุต สำหรับกรงเดี่ยว ทางที่ดีท่านควรใช้กรงเหล็กเพื่อป้องกันการกัดแทะ ซี่กรงควรมีความถี่พอประมาณไม่ให้นกยื่นอวัยวะออกมาข้างนอกได้


ของเล่นภายในกรง
ไม่ว่าจะเป็นลูกตุ้ม กระดิ่ง หรือกระจกเงา และวัสดุใดๆที่ทำให้นกเกิดความเพลิดเพลิน วัสดุเหล่านี้ควรทำด้วยเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้ง่าย นกแก้วมาคอว์เป็นนกที่สนุกสนานร่าเริง จึงควรมีของเล่นไว้เพื่อออกกำลังกาย นอกจากของเล่นยังต้องมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำ ภาชนะพวกนี้ควรทำด้วยเหล็ก และควรมีอ่างไว้สำหรับให้มาคอว์อาบน้ำ เพราะมาคอว์เป็นนกที่ชอบเล่นน้ำมาก นอกจากนี้ยังควรมีก้อนกรวดเล็กๆให้นกจิกเล่น ส่วนคอนควรใช้กิ่งไม้ที่ไม่ทาสีมาทำเป็นคอนให้นกเกาะเหมือนธรรมชาติ


นกหงส์หยก (Zebra Parakeet)



ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่า Betcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย


นกหงษ์หยก เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีลวดลาย และสีสันที่สวยงาม และสามารถแยกออกเป็นหลายพันธุ์ในตระกูลเดียวกัน นกหงษ์หยกเป็นนกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก เราควรมีกระจกให้แก่นกด้วย โดยให้กระจกเหมาะสมกับจำนวนของนก บางครั้งเราควรที่ใช้ฟร็อคกี้ หรือ ที่ฉีด ฉีดน้ำให้เป็นฟอยๆกระจาย นกจะมาเล่นน้ำเพื่อทำความสะอาดขน และก็จะแต่งขน ซึ่งจะทำให้นกมีขนที่สวยงาม


การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์


นกหงษ์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จาก นกอยู่กันเป็นคู่ ไซร้ขนให้กัน จะคอยป้อนอาหารให้กัน นกหงษ์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้


โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี และ Clofood (อาหารที่มี ส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)


วิธีเลือกนกหงส์หยก
เลือกนกวัยรุ่นที่มีอายุประมาณ 3 - 4 เดือน หรือนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่ การจะรู้จักเลือกเฟ้น ควรแวะไปดูตามสถานที่เพาะเลี้ยงเอง และศึกษาให้เข้าใจ ซึ่งมีนกให้เลือกเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าไม๋สามารถเข้าถึงแหล่งเพาะเลี้ยงได้ ก็ให้พยายามคัดเลือกจากร้าน หรือแหล่งจำหน่ายนกที่เชื่อถือได้

การเลือกซื้อนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่ นกหงส์หยกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่จะมีสีขนที่ต่างจากนกที่โตเต็มที่ นกที่ยังเล็ก ๆ อยู่จะมีขนอ่อน มีลายไม่เข้มบนหัวและเรื่อยมาตรงด้านหน้าใกล้จงอยปาก ซึ่งต่างจากนกโต จุดที่ตรงลำคอจะเล็กและเห็นไม่ค่อยชัด ขนทั้งตัวสีไม่สดเหมือนนกที่โตแล้วการเลี้ยงนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่นี้สามารถฝึกให้นกเชื่องง่ายกว่า นกที่โตเต็มที่แล้ว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงนกไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา แต่ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่นี้ยังไม่สามารถที่จะกินอาหารเองได้ ผู้เลี้ยงจึงต้องป้อนอาหารให้กับนกเอง


เวลาที่เหมาะในการซิ้อนก
เวลาที่เหมาะจะนำนกใหม่มาเลี้ยงคือ ตอนเช้า เพราะมันต้องเตรียมใจที่อยู่ในกรงใหม่ของท่าน ให้ดีก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ข้อนี้เป็นจุดสำคัญนกที่ถูกจับใส่กรงใหม่ในตอนเย็นย่อมมีความวิตกสับสนเกิดความหวาดกลัวต่อมันในช่วงกลางคืนทั้งคืน ซึ่งนกบางตัวเมื่อมีอาการแปลกที่มาก ๆ อาจทำให้มันตายได้เหมือนกัน


ข้อควรหลีกเลี่ยง
อย่าซื้อนกที่บินไม่ดี ขนที่ปีก หรือหางหลุด นกบางตัวมีโรคเกี่ยวกับขนบางชนิดที่เกิดกับนกหงส์หยกโดยเฉพาะคือ โรคขนร่วง หรือ เฟร้นซ์ มอลท์ ( French Moult ) เป็นโรคที่ทำให้ขนนกไม่เจริญเติบโตเต็มที่ หรือร่วงหลุดได้ง่ายโดยเฉพาะขนที่ปีกและหาง นกที่เป็นโรคนี้บางตัวอาจมีขนงอกขึ้นมาใหม่ได้แต่จะไม่ดีและสีไม่สวย และสุขภาพของขนไม่แข็งแรงเหมือนนกอื่น


นกค็อกคาเทล ( Cockatiel )


เนื่องจาก “ ค็อกคาเทล ” เป็นนกแก้วสายพันธุ์เล็กที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศออสเตรเลียที่มีกลักษณะเด่นที่หงอน เป็นนกที่ไม่ส่งเสียงดังมีเสียงนุ่มนวล ถ้าเป็นเพศผู้จะส่งเสียงร้องเป็นทำนอง เมื่อฝึกดี ๆ บางตัวสอนพูดและร้องเพลงได้ แต่ว่าเสียงจะไม่ชัดจนเท่านกแก้วชนิดอื่น คนไทยจึงเลี้ยงนกชนิดนี้กันมากขึ้นด้วยเสน่ห์ที่ความเชื่องของมัน ค็อกคาเทลชอบให้คนจับตัวและลูบหัวเบา ๆ ถ้าซื้อมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นนกเล็ก ๆ จะเชื่องและรักเจ้าของมาก


การพัฒนาสายพันธุ์ค็อกคาเทลในประเทศไทยมีอย่างต่อเนื่องปัจจุบันสายพันธุ์ค็อกคาเทลแก้มเหลืองจะหายากและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีคนไทยประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ค็อกคาเทลแก้มเหลืองได้แล้ว


ค็อกคาเทลที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่จะมีแก้มสีส้ม-แดง แต่ถ้าเป็นค็อกคาเทลแก้มเหลืองจะหายากมาก หลายคนซื้อพ่อ-พันธุ์มาจากต่างประเทศในราคาหลักหมื่นบาทต่อตัวแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ แต่ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ค็อกคาเทลแก้มเหลืองได้แล้ว รูปแบบการเลี้ยงนกค็อกคาเทลนั้นควรจะเลี้ยงในระบบปิดซึ่งทำให้ป้องกันปัญหาเรื่องไข้หวัดนกได้


การฝึกความเชื่องเบื้องต้น เช่น การมาเกาะที่นิ้วมือให้ป้อนอาหาร บริการเลี้ยงจนลูกนกมีอายุได้ 2-3 เดือน ซึ่งในช่วงอายุนี้นกจะกินอาหารได้เองแล้วเจ้าของมารับลูกนกกลับไปเลี้ยงเองได้แล้วสอนให้หัดพูดและสอนให้เชื่องต่อไป สำหรับกรงที่เหมาะต่อการเลี้ยงค็อกคาเทลถ้าหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรใช้กรงที่ทำจากไม้เนื่องจากอายุการใช้งานสั้นและจะเกิดปัญหานกจะกัดแทะไม้ด้วย ควรจะใช้กรงที่ทำจากโลหะหรือโครเมี่ยมง่ายต่อการเก็บรักษาและทำความสะอาด กรงที่ใช้เพาะเลี้ยงต้องมีซี่ตรงพื้นด้านล่างเพื่อให้สิ่งสกปรกหล่นลงไป


เนื่องจากนิสัยของค็อกคาเทลบางตัวชอบเก็บเปลือกและสิ่งปฏิกูลมากินหรือแทะเล่น คนที่เลี้ยงค็อกคาเทลมากกว่า 5 ตัวต่อกรง ควรจะใช้กรงขนาดใหญ่อย่างน้อยที่สุดขนาดของกรงจะต้องมีความกว้าง 20 นิ้ว และสูง 26 นิ้ว แต่ถ้ามีเนื้อที่และขนาดใหญ่กว่านี้ยิ่งดีจะทำให้นกโผบินได้สะดวกขึ้น ผู้ที่คิดจะเลี้ยงค็อกคาเทลอย่าลืมให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารจะต้องยึดอยู่เสมอว่า “ การให้อาหารที่เหมาะสมจะทำให้นกมีสุขภาพร่างกายที่ดีและอายุยืนยาว ”


นกคอคคาเทลต่างจากนกอื่นๆในตระกูลนกแก้วหรือนกปากขอตรงที่คอคคาเทลไม่มีเม็ดสีฟ้าในขน เราจะพบเม็ดสีในขนนกคอคคาเทลอยู่ 2 กลุ่ม คือ สีโทนเหลืองและส้ม แต่ในนกแก้วปากขอชนิดอื่นจะมีเม็ดสีฟ้าในขน ซึ่งเมื่อใดที่เม็ดสีดำหรือสีน้ำตาลไม่ปรากฎออกมาเม็ดสีฟ้าและเหลืองจะรวมตัวกัน( สีโทนเขียว ) ขึ้นมาแทน เช่น นกแก้ว นกหงส์หยก

นกซันคอนัวร์ (Cornure)

นกซันคอนัวร์ (Cornure, Conure, Conure มาจากคำว่า Conurus คอนูรัส) คอนัวร์เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลาตินอเมริกา จากแม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้คอนัวร์มาจากภูมิอากาศหลากหลาย ภูมิประเทศหลายแบบ ก่อนที่เราจะเลี้ยงเจ้านกคอนัวร์เราควรต้องทำความรู้จักนิสัยกับบางอย่างของมันกันก่อน อุปนิสัยของนกคอนัวร์ที่พบบ่อย

นิสัยเรียกร้องความสนใจ : เมื่อนกรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

คอนัวร์รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน มันจะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก หลังอาหารทุกมื้อ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะหรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

การกัดเป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของคอนัวร์ที่อาศัยอยู่ในป่าการกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบๆตัวของมันอยู่ การนอนกลางวันเป็นการ “งีบหลับ” คอนัวร์จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วยก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

คอนัวร์ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลาเมื่อคอนัวร์เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง การพองขนเป็นการคลายความตึงเครียดของมัน แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย การไซร้ขนให้กันและกันเป็นนิสัยของนกที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา อาการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมันซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

คอนัวร์จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะยิ่งส่งเสียงร้องบางครั้งคอนัวร์ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้อยู่ตัวเดียว คอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัวเดียวหรือเปล่าเจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว

การนอน มักจะชอบมุดไปขดตัวนอนอยู่ใต้ผ้าหรือเศษไม้ที่เราใส่ไว้ในกล่องนอนและบางครั้งมันก็จะนอนหงายหลับไปในถ้วยอาหาร เพื่อให้นกได้พักผ่อนอย่างสบาย ควรหาเศษผ้าหรือตุ๊กตานุ่ม ๆ มาใส่ไว้ให้นก การนอนหงายในลักษณะเท้าชี้ฟ้าถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับคอนัวร์และก็เป็นท่าที่แสนสบายสำหรับมันด้วย



นกเลิฟเบิร์ด (Lovebirds)


เป็นนกที่มีสายพันธุ์เดียวกับนกแก้ว (Parrot) จึงเรียกว่าเป็น Little Parrot และ ด้วยเอกลักษณ์ ของนกชนิดนี้ก็คือ ชอบอยู่เป็นคู่ก็มีการเรียกชื่อใหม่ ว่าเป็นสายพันธุ์ Agapornis ต่อมาการเลี้ยงนก Lovebirds มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อ ให้ได้ สีสันใหม่ ๆ ที่สวยงามขึ้น และเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ รวมทั้งมีการผสมกับ นกสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วยอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 15 - 20 ปี ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์นกได้ ตลอดทั้งปีเลิฟเบิร์ดอาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่น มิลเลต ข้าวไรน์ ข้าวเปลือกมะเขือ โดยทั่วไปอุปนิสัยของ Lovebirds จะชอบอยู่เป็นคู่ ร่าเริง สดใส ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วตลอดเวลา


เลิฟเบิร์ด กลายเป็นนกที่ได้รับการบันทึกไว้ในวงการนกสวยงามไทยว่า มันคือ นกที่สร้าง เศรษฐีวงการนก และ สร้างยาจกใหม่ จากการเลี้ยงนก ได้ในเวลาเดียวกัน มีถิ่นกำเนิดจากทวีป แอฟริกา เป็นนกที่มีเสน่ห์ ขี้เล่น จะอยู่กันเป็นคู่ มีสีสันมากมาย เริ่มต้นทีแรกเลยจะเป็นสีเขียว แล้วคนนำมาเพาะเลี้ยงแล้วพัฒนาสายพันธ์ ผสมออกมามีสีต่าง ๆ มากมายจนตอนนี้มีสีม่วงแล้ว อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 15 - 20 ปี ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์นกได้ตลอดทั้งปีเลิฟเบิร์ด เป็นที่ทราบกันดีว่า นกแก้วเลิฟเบริด์ นกในสกุล Agapornis 9 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือไม่มีขอบตา และ มีขอบตา ประกอบด้วย


1.Peach-faced Lovebird, (Agapornis roseicollis) : นกเลิฟเบิร์ด ไม่มีขอบตา ขนสีเขียวสดทั้งตัว ส่วนท้าย(Rump) มีสีฟ้าสดจากหน้าผากตลอดข้างแก้มทั้ง 2 ข้าง เล็บสีแดง ปากสีขาวหรือสีงาช้าง
2.Fischer's Lovebird, (Agapornis fischeri) : เป็นเลิฟเบิร์ดประเภทมีขอบตา ถ้าเป็นโทนสีเขียว หน้านกจะสีแดง ถ้าเป็นโทนสีฟ้า หน้านกเป็นสีขาว ปัจจุบันนก FISHER จะมีการพัฒนาได้สีสันใหม่ ๆ มากมาย สีม่วงเป็นสีที่หายาก
3.Masked Lovebird, (Agapornis personatus): เป็นนก lovebirds ประเภทที่มีขอบตา หัวจะมีสีดำสนิท มีสีกว่า 30 สี สีม่วงเป็นสีที่หายาก
4.Madagascar Lovebird, (Agapornis canus) : ตัวเล็กพอ ๆ กับ BLACKCHEEKED ตัวเมียจะมีสีเขียวทั้งตัว ตัวผู้ตัวจะมีสีเขียว หัว,คอ จะมีสีขาว
5.Lilian's Lovebird or Nyasa Lovebird, (Agapornis lilianae) : เป็นประเภทมีขอบตา ถ้านกมีสีเขียวหน้าจะมีสีแดง ถ้านกสีฟ้าหน้าจะสีขาว สีเหลืองตาแดงจะหายาก
6.Black-cheeked Lovebird, (Agapornis nigrigenis) : เป็นประเภทมีขอบตา หัวจะดำ หน้าจะเป็นคล้าย ๆ หน้ากากตัวจะเล็กกว่าพวก MASKED , FISHERI เป็นนกที่ป้อนลูกเก่ง
7.Abyssinian Lovebird, (Agapornis taranta) : ตัวนกจะค่อนข้างโต ตัวผู้หน้าจะมีสีแดง ตัวเมียหน้าจะไม่มีสีแดง
8.Red-faced Lovebird, (Agapornis pullarius) : นกจะมีสีเขียว หน้าจะมีสีแดง
9.Black-collared Lovebird, (Agapornis swindernianus)


สถานที่เลี้ยงควรจะเลี้ยง
Lovebirds ไว้เป็นคู่ ภายในกรงขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 18" x 15" x 15" หรือกรง "หมอนเล็ก" โดยประมาณ ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรหลีกเลี่ยงที่ที่มีลมโกรกรุนแรง หรือแดดจัดเกินไป ฝนสาดเข้ามาโดนได้ แล้วล้อมรอบด้วยมุ้งลวดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันยุงและแมลง และควรระวังศัตรูธรรมชาติของนก เช่น แมว หรือหนูด้วยการล้อมรอบโรงเรือนด้วยตาข่าย ภายในโรงเรือนควรติดสปริงเกิล เพื่อความเย็นสบายของนกและกระเบื้องมุงหลังคาควรสลับกับกระเบื้องแผ่นใสเพื่อให้โรงเรือนมีแสงส่องสว่างด้วย


ลักษณะนกเลิฟเบิร์ดที่ดี
เราสามารถดูลักษณะ Lovebirds ที่ดีได้จากรูปร่างภายนอก นั่นก็คือ ขนจะต้องเงางาม ตามีแวว สดใส ปาก ขา เล็บ ไม่ขาด ไม่แหว่ง หรือกุด ดูร่าเริง มีอาการตอบโต้ ไม่ซึม หรือยืนพองขน ส่วนเรื่องเพศของนก Lovebirds จะดูได้จากภายนอกค่อนข้างยาก แต่ก็มีวิธีดู โดยต้องจับตัวนกแล้วพลิกหงายท้อง จากนั้นจับตะเกียบหรือกระดูกเชิงกราน ตรงส่วนท้ายที่ติดกับโคนหาง แล้วใช้นิ้วมือคลำเบา ๆ ซึ่งกระดูกเชิงกรานจะเป็นกระดูก 2 ชิ้น คู่กัน - เพศผู้กระดูกส่วนนี้จะชิดกัน และแข็ง นูนขึ้นมามาก - เพศเมีย จะค่อนข้างห่างและอ่อน


นกฟินซ์ 7 สี (Gouldian Finch)

นกฟินซ์เจ็ดสี (Gouldian Finch) หรือ นกสายรุ้ง (Rainbow Finch)

เป็นนกชนิดเดียวที่ทั่วโลกขนานนามว่า "THE KING OF ALL FINCHES" หรือ "ราชาแห่งนก" ทั้งนี้เนื่องจากความงาม ของสีสันที่สะดุดตาของผู้ได้พบเห็น เป็นนกที่มีความน่าสนใจอยู่ในตัวมันเอง อุปนิสัยโดยทั่วไปเป็นนกที่รักสงบและ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกันภายในกรงเดียวกันได้หลายตัว และสามารถเลี้ยงได้ใน พื้นที่แคบ ๆ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน


ที่สำคัญคือเป็นนกที่รักความสะอาด และเป็นนกที่ไม่มีโรคภัยที่จะระบาดมาสู่คน เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีจงอยปากที่แข็งแรงและทรงพลังในการขบ กระเทาะ เมล็ดพืชเล็ก ๆ กินเป็นอาหาร มีจงอยปากสีแดงสด รูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดูแต่ละอย่างมีสีสวย, มีกิริยาปราดเปรียวว่องไว เลี้ยงดูง่ายและ เกือบไม่สิ้นเปลืองอะไร, ที่เลี้ยงและเห็นกันอยู่โดยทั่วไปนั้นส่วนมากมักเป็นนกฟินช์ นกตระกูลนี้แยกพันธุ์ออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เท่าที่นักเลี้ยงทั่วไปได้สะสมกันเอาไว้นั้นมีเกือบ 100 ชนิด ทั้งนี้หมายถึงชีวิตและการเป็นอยู่ได้อย่างแจ่มแจ้งแล้วเท่านั้นถิ่นกำเนิดแต่ดั้งเดิมของนกตระกูลนี้มีอยู่ในเขตร้อยอาทิเช่น แอฟริกา, ออสเตรเลีย และในแถบเอเชีย, ชนิดที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดสัตว์เลี้ยงที่นับว่าคุ้นตาดีนั้นมีชื่อเรียก แยกเป็นชนิดและสี


นกในตระกูลนี้ทุกชนิดเป็นนกแข็งแรง และปราดเปรียว, กินอยู่ก็ง่ายเกือบไม่สิ้นเปลืองอะไรเลยฉะนั้นกรงและที่อยู่อาศัยนั้น สำหรับนกฟินช์จึงไม่มีเรื่องยุ่งยากอะไรนัก ถ้าท่านมีกรงภายนอกซึ่งใช้เลี้ยงนกอื่นอยู่แล้ว เมื่ออยากเลี้ยงนกฟินช์ ท่านก็นำนกฟินช์ไปปล่อยลงได้เลย ถ้าท่านต้องการที่จะเลี้ยงดูภายในกรงแบบแขวน, หรือตั้งขนาดเล็ก ๆ ภายในห้อง นกฟินช์ก็สามารถจะอยู่ได้อย่างมีความสุข


เรื่องง่าย ๆ ที่ท่านไม่ควรลืม ถ้าหากท่านคิดจะเลี้ยงนกด้วยกรงเล็ก ๆ นั้นมีดังนี้
1.โปรดเลือกซื้อกรงที่สามารถดึงพื้นกรง, ถ้วยใส่อาหารและถ้วยน้ำ ออกมาทำความสะอาดได้สะดวกและกรงนั้นต้องมีซี่ลวดกั้นขนาดเล็กอันเป็นกรงของนกฟินช์โดยเฉพาะ
2.โปรดเลือกซื้อกรงที่ชุบโครเมียม ถ้าท่านมีงบประมาณเพียงพอ เพราะกรงธรรมดาที่ใช้สีพ่นหรือทานั้น แม้จะมีราคาถูกกว่า แต่สีก็จะหลุดแตกและเป็นสนิมในเวลาอันสั้น, กรงพลาสติกก็สวยและใช้ได้ดี ถ้ามันไม่เกิดการพลาดตกลงมา
3.โปรดเลือกซื้อกรงที่มีอุปกรณ์ภายในอยู่พร้อมเสร็จ อาทิเช่น คอน, ชิงช้า, ถ้วย, ซึ่งของเหล่านี้ กรงที่มีคุณภาพดี ย่อมมีอยู่พร้อมเสร็จ
4.โปรดตั้งหรือแขวนกรงในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอสมควร, ไม่ถูกลมโกรกหรือถูกแดดจัดจนเกินไป


ในกรณี ที่บริเวณบ้านท่าน มีที่กว้างพอสมควรต้องการจะสร้างกรงภายนอก เพื่อรวบรวมนกฟินช์ ชนิดต่าง ๆ ทำเลที่ตั้งของกรงนั้น โดยทั่วไปแล้ว ขนาดของกรงยิ่งมากเท่าใดนกก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น แบบอย่างของกรงรวมนั้นควรสร้างเป็นรูปทรงยาวแบ่งส่วนยาวนั้นออกเป็น 3 ตอน, 2 ตอนแรกควรมีหลังคา, หนึ่งใน 2 ตอนนี้นอกจากหลังคาแล้ว ควรมีฝาปิดกั้นด้านนอกเพื่อจะได้ใช้ตอนนี้เป็นที่กินอยู่หลับนอนของนกอย่างร่มรื่น พื้นกรงของ 2 ตอนที่กล่าวนี้ควรลาดด้วยซีเมนต์, ส่วนของตอนที่ 3 ซึ่งเหลืออยู่นั้นควรให้ได้รับแสงสว่างปลอดโปร่งมากที่สุด พื้นของตอนที่ 3 ซึ่งมิได้ลาดซีเมนต์นั้นควรปลูกต้นไม้ ตกแต่ง บริเวณนี้ให้เป็น ป่าโปร่ง ด้วยพุ่มไม้เตี้ย ๆ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก, และพืชหญ้าต่าง ๆ อาจจะวางโขดหินโบกซีเมนต์โดยขุดให้เป็นแอ่ง หรือสระเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำสะอาดแก่นกด้วยก็ยิ่งเป็นการดี

ถึงแม้ถิ่นฐานดั้งเดิมของนกชนิดนี้จะอยู่ในเขตที่ค่อนข้างจะร้อนชื้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลี้ยงดูนกชนิดนี้ในสถานที่ที่ต้องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิเสมอไป เพราะอุณหภูมิในธรรมชาติก็มีขึ้นมีลงเหมือนกัน ในต่างประเทศ ผู้เพาะเลี้ยงหลายรายเล่าว่าได้เลี้ยงนกในกรงขนาดใหญ่นอกตัวบ้าน นกสามารถทนต่ออุณหภูมิที่ต่ำถึง ลบ 9 และ สูงสุดถึง 41 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือจะต้องมีการป้องกันลมโกรก รวมทั้งมีที่ให้นกหลบละอองน้ำฝนด้วย


ควรจัดการให้นกใหม่ ได้มีการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในกรงใหม่อย่างระมัดระวัง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือในฤดูร้อน หากมีความจำเป็นต้องปล่อยนกเข้ากรงในฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว ควรเพิ่มวัสดุป้องกันลมและฝนให้มากกว่าปกติในช่วงแรกๆ


นกชนิดอื่นๆสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ไปยังส่วนต่างๆของโลก แต่สำหรับนกฟิ้นซ์เจ็ดสีแล้วจะยากกว่ามาก ถึงแม้จะเกิดในกรงมาเป็นสิบรุ่นแล้วก็ตาม เมื่อถึงฤดูหนาวในประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ ก็เป็นช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิในประเทศทางซีกโลกใต้ เป็นช่วงเวลาที่นกจะเริ่มผสมพันธุ์กัน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เรื่อยไปจนถึงเดือน เมษายน สำหรับบ้านเราฤดูหนาวอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ จะมีก็แถวช่วงเดือนมีนา – เมษา ซึ่งอากาศค่อนข้างจะร้อน เมื่อนกตัวเมียเข้าสู่สภาพที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ จะสังเกตุได้จากสีของจงอยปากที่มีการเปลี่ยนแปลงไป จากสีขาวนวลๆไปเป็นสีออกน้ำตาลเทาๆ


หากมีนกมากกว่าหนึ่งคู่ การปล่อยให้นกจับคู่หรือเลือกคู่กันเองจะมีผลดีต่อการเพาะเลี้ยงมากกว่าทำได้โดยใส่ห่วงขาหรือทำเครื่องหมายไว้ที่ตัวนก แล้วปล่อยนกตัวเมียหนึ่งตัวและตัวผู้ 3 - 4 ตัวเข้าไปในกรง นกตัวเมียจะยอมให้นกตัวผู้ที่เลือกแล้วเพียงตัวเดียวให้เข้าใกล้เพื่อกระโดดขึ้นๆลงๆและร้องเพลงเพื่อเกี้ยวพาราสีกัน และจะจิกหรือบินหนีจากตัวผู้อื่นๆ การจับคู่หรือเลือกคู่นี้อาจใช้ระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งวันไปจนถึงประมาณสิบวัน จากนั้นให้แยกนกตัวผู้ตัวอื่นๆออกไปเพื่อให้นกตัวเมียตัวอื่นได้เลือกต่อไป


อัฟริกันเกรย์ (African Gray Parrot)

อัฟริกันเกรย์ นกแก้วไอคิวสูง หรือ นกแก้วสีเทา จัดเป็นนกแก้วที่ได้รับความนิยมในการนำมาเลี้ยงดูในฐานะของสัตว์เลี้ยงประจำบ้านของมนุษย์มานับเป็นระยะเวลานาน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ยังไม่มีนกชนิดใดที่สามารถทำลายสถิติของความสามารถในการเลียนเสียงและจดจำคำต่าง ๆ ได้มากเท่ากับนกชนิดนี้

เกรย์แพรอทนั้น เป็นนกแก้วที่มีสายพันธุ์แบ่งย่อยออกได้ 3 สายพันธุ์คือ Congo Grey Parrot(Psitthacus Erithacus Erithacus) ,Timneh Grey Parrot ZPsittacus erithacus timneh ) และสุดท้ายคือ Ghana Grey parrot (Psittacus erithacus princeps) โดยที่ความแตกต่างของทั้งสามสายพันธุ์จะอยู่ที่ขนาดและสีสัน และสถานที่ที่เป็นถิ่นกำเนิดเท่านั้น

แต่ดูเหมือนว่าเมืองไทย จะได้พบสายพันธุ์แรก คือพวก Congo Grey (บางทีเรียกกันว่า kongo Grey)เสียมากกว่าสองพวกหลัง ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมาจากจำนวนสายพันธุ์ของชนิดนี้อาจจะมีแพร่หลายมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามทั้งสามสายพันธุ์ก็ไม่ได้แตกต่างกันในเรื่องของความฉลาด และความเก่งกาจในการเลียนเสียงต่าง ๆ เลย

ความนิยมในตัวนกชนิดนี้ทำให้ มีนักเพาะพันธุ์นกจำนวนหนึ่งได้พยายามที่จะเพาะพันธุ์นกชนิดนี้ออกมาเพื่อรองรับ ความต้องการของผู้ที่อยากจะได้นกชนิดนี้ไปเลี้ยงกัน และก็พบว่า นกที่ได้รับการเพาะเลี้ยงโดยมนุษย์นั้นมีสุขภาพ และแนวโน้มที่จะปรับตัวเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้ดีกว่า และนอกจากนี้ความฉลาดในการเรียนรู้และจดจำรวมไปถึงไอคิวนั้น ควรข้างจะดีกว่านกที่นำมาจากป่าเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากการผลิตลูกนกออกมานั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

หลายประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทยเอง พบว่ามีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์นกชนิดนี้ และยังรวมไปถึงนกชนิดอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อิเลคตัส (Eclectus Parrot) หรือกลุ่มนกแก้วคอแหวน(Ringneck Parrots), และนกโนรี(Rory)หลายสายพันธุ์ เพราะมีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของสภาพภูมิอากาศ, อาหาร และจากการศึกษาก็พบว่า นกแก้วชนิดนี้จัดว่าเป็นนกที่ค่อนข้างจะเพาะพันธุ์ได้ง่าย และสำหรับในเมืองไทยพบว่าสามารถเพาะได้ถึง 3-4 ครอก/ปี (นั่นอธิบายได้ว่านกสามารถที่จะให้ไข่ได้ตลอดปี)

นกแก้วสีเทา หรือ อัฟริกันเกรย์นี้ มักจะมีพฤติกรรมและอารมณ์โน้มเอียงไปทางผู้ที่เลี้ยง และพบว่าถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ค่อนข้างก้าวร้าว ก็มีความเป็นไปได้สูงที่นกชนิดนี้จะเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมคล้ายเจ้าของได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว จึงต้องพึงระลึกว่า การเลี้ยงดูนกชนิดนี้นั้น ควรมีท่าทีและการปฎิบัติต่อนก ด้วยความนุ่มนวล ทั้งคำพูด การแสดงออก และอารมณ์

ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงนกแก้วชนิดนี้ในประเทศไทยนั้น มักกระทำกันอยู่ในวงแคบเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการขีดจำกัดในการเพาะเลี้ยงนกในเมืองไทยให้เห็นว่ายังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งในบางประเทศได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการเพาะพันธุ์นกชนิดต่าง ๆ อย่างเต็มที่

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือได้ว่าเป็นประตูเข้า-ออก ระหว่าง เอเชีย กับ ยุโรป โดยเฉพาะในเรื่องการค้านก ประเทศนี้มีบริษัทนายหน้าที่รับจัดซื้อ จัดหา นกสวยงาม เพื่อป้อนแก่ตลาดทั่วโลก ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงเอเชีย และนำเงินเข้าประเทศปีละหลาย ๆ ล้านเหรียญ และยังถือว่าเป็นตลาดพักนก เพื่อส่งไปยังที่ต่าง ๆ ในโลกใหญ่ที่สุดด้วย นักเลี้ยงนกไทยหลายท่านเสียเงินในการสั่งซื้อนกต่าง ๆ ให้แก่นายหน้าจากประเทศนี้มามากต่อมาก และนี่ยังไม่รวมประเทศจีน ซึ่งกำลังขึ้นมาเป็นทั้งผู้เพาะพันธุ์และนายหน้าจัดซื้อหานกรายใหญ่อีกราย ซึ่งพบว่าราคานกที่นำเข้าจากจีนนั้นจะค่อนข้างถูกกว่ามาก