อัฟริกันเกรย์ นกแก้วไอคิวสูง หรือ นกแก้วสีเทา จัดเป็นนกแก้วที่ได้รับความนิยมในการนำมาเลี้ยงดูในฐานะของสัตว์เลี้ยงประจำบ้านของมนุษย์มานับเป็นระยะเวลานาน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ยังไม่มีนกชนิดใดที่สามารถทำลายสถิติของความสามารถในการเลียนเสียงและจดจำคำต่าง ๆ ได้มากเท่ากับนกชนิดนี้
เกรย์แพรอทนั้น เป็นนกแก้วที่มีสายพันธุ์แบ่งย่อยออกได้ 3 สายพันธุ์คือ Congo Grey Parrot(Psitthacus Erithacus Erithacus) ,Timneh Grey Parrot ZPsittacus erithacus timneh ) และสุดท้ายคือ Ghana Grey parrot (Psittacus erithacus princeps) โดยที่ความแตกต่างของทั้งสามสายพันธุ์จะอยู่ที่ขนาดและสีสัน และสถานที่ที่เป็นถิ่นกำเนิดเท่านั้น
เกรย์แพรอทนั้น เป็นนกแก้วที่มีสายพันธุ์แบ่งย่อยออกได้ 3 สายพันธุ์คือ Congo Grey Parrot(Psitthacus Erithacus Erithacus) ,Timneh Grey Parrot ZPsittacus erithacus timneh ) และสุดท้ายคือ Ghana Grey parrot (Psittacus erithacus princeps) โดยที่ความแตกต่างของทั้งสามสายพันธุ์จะอยู่ที่ขนาดและสีสัน และสถานที่ที่เป็นถิ่นกำเนิดเท่านั้น
แต่ดูเหมือนว่าเมืองไทย จะได้พบสายพันธุ์แรก คือพวก Congo Grey (บางทีเรียกกันว่า kongo Grey)เสียมากกว่าสองพวกหลัง ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมาจากจำนวนสายพันธุ์ของชนิดนี้อาจจะมีแพร่หลายมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามทั้งสามสายพันธุ์ก็ไม่ได้แตกต่างกันในเรื่องของความฉลาด และความเก่งกาจในการเลียนเสียงต่าง ๆ เลย
ความนิยมในตัวนกชนิดนี้ทำให้ มีนักเพาะพันธุ์นกจำนวนหนึ่งได้พยายามที่จะเพาะพันธุ์นกชนิดนี้ออกมาเพื่อรองรับ ความต้องการของผู้ที่อยากจะได้นกชนิดนี้ไปเลี้ยงกัน และก็พบว่า นกที่ได้รับการเพาะเลี้ยงโดยมนุษย์นั้นมีสุขภาพ และแนวโน้มที่จะปรับตัวเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้ดีกว่า และนอกจากนี้ความฉลาดในการเรียนรู้และจดจำรวมไปถึงไอคิวนั้น ควรข้างจะดีกว่านกที่นำมาจากป่าเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากการผลิตลูกนกออกมานั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
หลายประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทยเอง พบว่ามีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์นกชนิดนี้ และยังรวมไปถึงนกชนิดอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อิเลคตัส (Eclectus Parrot) หรือกลุ่มนกแก้วคอแหวน(Ringneck Parrots), และนกโนรี(Rory)หลายสายพันธุ์ เพราะมีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของสภาพภูมิอากาศ, อาหาร และจากการศึกษาก็พบว่า นกแก้วชนิดนี้จัดว่าเป็นนกที่ค่อนข้างจะเพาะพันธุ์ได้ง่าย และสำหรับในเมืองไทยพบว่าสามารถเพาะได้ถึง 3-4 ครอก/ปี (นั่นอธิบายได้ว่านกสามารถที่จะให้ไข่ได้ตลอดปี)
นกแก้วสีเทา หรือ อัฟริกันเกรย์นี้ มักจะมีพฤติกรรมและอารมณ์โน้มเอียงไปทางผู้ที่เลี้ยง และพบว่าถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ค่อนข้างก้าวร้าว ก็มีความเป็นไปได้สูงที่นกชนิดนี้จะเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมคล้ายเจ้าของได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว จึงต้องพึงระลึกว่า การเลี้ยงดูนกชนิดนี้นั้น ควรมีท่าทีและการปฎิบัติต่อนก ด้วยความนุ่มนวล ทั้งคำพูด การแสดงออก และอารมณ์
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงนกแก้วชนิดนี้ในประเทศไทยนั้น มักกระทำกันอยู่ในวงแคบเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการขีดจำกัดในการเพาะเลี้ยงนกในเมืองไทยให้เห็นว่ายังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งในบางประเทศได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการเพาะพันธุ์นกชนิดต่าง ๆ อย่างเต็มที่
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือได้ว่าเป็นประตูเข้า-ออก ระหว่าง เอเชีย กับ ยุโรป โดยเฉพาะในเรื่องการค้านก ประเทศนี้มีบริษัทนายหน้าที่รับจัดซื้อ จัดหา นกสวยงาม เพื่อป้อนแก่ตลาดทั่วโลก ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงเอเชีย และนำเงินเข้าประเทศปีละหลาย ๆ ล้านเหรียญ และยังถือว่าเป็นตลาดพักนก เพื่อส่งไปยังที่ต่าง ๆ ในโลกใหญ่ที่สุดด้วย นักเลี้ยงนกไทยหลายท่านเสียเงินในการสั่งซื้อนกต่าง ๆ ให้แก่นายหน้าจากประเทศนี้มามากต่อมาก และนี่ยังไม่รวมประเทศจีน ซึ่งกำลังขึ้นมาเป็นทั้งผู้เพาะพันธุ์และนายหน้าจัดซื้อหานกรายใหญ่อีกราย ซึ่งพบว่าราคานกที่นำเข้าจากจีนนั้นจะค่อนข้างถูกกว่ามาก